วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Post-Teaching Report 16

Post-Teaching Report  16
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss  Jintana  Suksamran
December  4, 2014
Group 101 (Thursday) Time 08.30 – 12.30 PM.


-Content (เนื้อหา)-
-นำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นปฐมวัย
-ทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครอง

วิจัย      เรื่อง  การส่งแสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย

                การบอกความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลของความเห็นที่ได้จากการสังเกต จากประสบการณเดิมที่มีอยู่ อาจมาจากการวัด การสังเกต การทดลอง พยายามโยงความรู้เดิมมาสัมพันธ์กับที่มีอยู่โดยเพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว ต้องอาศัยประสบการณ์เดิม เหตุผล การใช้คำถามมีผลต่อการลงสรุป

การทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ผู้ปกครอง



หน้าที่ 1. เรื่องที่เรากำลังจะประชาสัมพันธ์ เรื่องอะไร หน่อยอะไร ต้องการอะไร มีวัตถุประสงค์อย่างไร
หน้าที่ 2. สาระที่ควรเรียนรู้ในหน่วยของเรา  ทำเป็นแบบบรรยาย หรือแบบพรรณนาโวหาร
หน้าที่ 3. เพลง คำคล้องจอง นิทาน เกี่ยงกับเรื่องที่เราจะสอน
หน้าที่ 4. เกมที่สามารถให้พ่อใช้เล่นกับลูกๆได้ เกี่ยวกับเรื่องที่เราจะสอน
                -เกมสลับที่
                -เกมจิ๊กซอว์
                -เกมต่อภาพ
-เกมจับคู่
-เกมภาพเงา
-เกมโดมิโน
-เกมต่อคำ
หน้าที่ 5.  สมาชิกของกลุ่มที่ทำ
หน้าที่ 6.  เป็นหน้าปก ประกอบด้วย  ตราโรงเรียน, ชื่อโรงเรียน,หน่วยที่จะเรียน,ชื่อเด็ก,ชื่อครูประจำชั้น



จุดประสงค์การทำแผ่นพับในครั้งนี้
-เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองทราบว่าลูกของท่านกำลังเรียนอะไร ทำอะไร
-เพื่อขอความอนุเคราะห์ให้เด็กนำอุปกรณ์ที่ใช้เยอะ และหลากหลายมาจากบ้าน เพราบางครั้งเราต้องให้เด็กทุกคนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
-เพื่อให้ผู้ปกครองมี่ส่วนร่วมในการเรียน การสอนของเด็ก
-เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและสบายใจ สามารถถามเด็กได้วันนี้เรียนอะไรมาบ้าง

               
-Teaching methods (วิธีการสอน)-
       -สอนแบบอธิบายเพิ่มเติมจากเรื่องที่ได้ฟัง
       -สอนแบบให้คิดนอกกรอบ
        -สอนวิธีการทำเสนอหน้าห้องเรียน
       -สอนวิธีการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้คิด
       -สอนแบบให้เด็กลงมือกระทำด้วยตัวเอง
       -สอนแบบให้คิดต่อยอดจากเรื่องที่ได้ฟัง
      

-Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)-
         -สามารถนำกิจกรรมในวิจัยมาปรับใช้ในหารเรียนการสอนได้
         -สามารถตั้งคำถามให้เด็กได้คิด ได้ค้นหาคำตอบมากยิ่งขึ้น
         -สามารถนำคำแนะนำเกี่ยวกับการนำเสนอหน้าชั้นเรียนไปปรับใช้ได้
         -สามารถนำกิจกรรมการทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ไปใช้ในอนาคตได้
        

-Evaluation  (การประเมินผล)-
ตนเอง – ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย จดบันทึกตลอดการนำเสนอของเพื่อน พูดคุย สนทนา ตอบคำถามของอาจารย์ตลอด ถามในส่วนที่ไม่เข้าใจ ให้ความร่วมมือกับเพื่อนในกลุ่มเป็นอย่างดี วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการสอนช่วงแรกๆยังไม่ชอบตอบคำถาม เพราะยังไม่เข้าใจเท่าไร แต่พอช่วงกลางๆเป็นต้นเข้าใจว่าต้องการอะไรก็เลยทำให้ ทำให้เราได้เข้าใจเนื้อหามากขึ้นและกล้าที่จะตอบคำถามมากขึ้น วิชาวิทยาศาสตร์หนูชอบมากๆ เพราะเป็นวิชาที่หนูเรียนมาในตอนมัธยมถึง6ปี พออาจารย์ถามอะไรที่เกี่ยวกับวิทย์หนูก็จะชอบโต้ตอบ ชอบถาม เพราะเป็นเรื่องี่หนูเข้าใจ เลยทำให้หนูสนุกเวลาเรียนวิชานี้ และสามารถนำไปใช้ได้จริง  
เพื่อน – เพื่อนๆมาเรียนตรงเวลา แต่วันนี้ส่วนมากจะมาสาย ช่วยกันทำงานกลุ่มของตัวเองกันอย่างเต็มที่ โต้ตอบอาจารย์เท่าที่ทำได้ แต่งกายเรียบร้อย  เพื่อนๆสนุกสานในการเรียนกันจนวันสุดท้าย ถือเป็นเรื่องที่ดี

อาจารย์  - อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม มีคำแนะนำเพิ่มเติมตลอดการสอน มีกิจกรรมใหม่ๆมาให้ทำตลอด สามารถใช้ได้จริงในอนาคตทุกอันที่อาจารย์นำมาสอน อาจารย์สอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กสนุกมาก ทำให้เวลาเรียนสนุกสนานไปด้วย






วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Post-Teaching Report 15

Post-Teaching Report  15
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss  Jintana  Suksamran
November  27, 2014
Group 101 (Thursday) Time 08.30 – 12.30 PM.


-Content (เนื้อหา)-
-นำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นปฐมวัย
-นำเสนอโทรทัศน์ครูการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับปฐมวัย

วิจัย      เรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรม สัตว์เลี้ยงแสนรัก
-การใช้คำถาม-
1. คิดว่ารูปนี้เป็นรูปอะไร
2. อาหารชนิดนี้เป็นอาหารของสัตว์ชนิดใดได้บ้าง
3. เด็กๆคิดว่าสัตว์ต้องการอะไรบ้างนอกจากอาหาร
4. ถ้าสัตว์ไม่ได้กินอาหารจะเป็นอย่างไร
5. สัตว์แต่ละชนิดกินอะไรเป็นอาหาร
-การใช้ทักษะ-
-ทักษะการสังเกต
-ทักษะการจำแนก
-ทักษะการวัด

วิจัย     หลักการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน
-การใช้ทักษะ-
-ทักษะการสังเกต
-ทักษะการประมาณ
-ทักษะการเปลี่ยนแปลง
                เป็นการทำกิจกรรมนอกชั้นเรียน  แบ่งเป็นหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้  3 กิจกรรม
     1.แว่นขยายเห็นชัดเจน
-การใช้คำถาม-
-เด็กๆส่องอะไรบ้าง
-เด็กๆเห็นวัตถุของจริงเป็นอย่างไร
-ตาเปล่ากับของจริงเป็นอย่างไร
     2.แสงเป็นอย่างไร
-ต้นไม้ที่ทึบและไม่ทึบ
-น้ำวางกลางแดดและในร่ม
-ดินในร่มและกลางแดด
-ยืนกลางแดด
-หาวัสดุธรรมชาติมาทำเป็นเงา
     3.เสียงในธรรมชาติ

วิจัย    การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

             การคิดเชิงเหตุผล
-การจำแนก
-การจัดประเภท  >> พวกเดียวกัน
-อนุกรม  >> เหตุผลเดียวกัน

วิจัย  ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีต่อทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัย / รุ่งระวี ศิริกิตติศัพท์


หลังจากนำเสนอวิจัยกันหมดแล้ว ก็จะเป็นการนำเสนอโทรทัศน์ครู ส่วนมากที่เพื่อนๆนำมานำเสนอก็จะเป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยสามารถลงมือกระทำหรือทดลองได้  ก็จะมีขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุปตามขั้นตอน  มีการใช้คำถามในแต่ล่ะช่วง เพื่อให้เด็กเกิดกระบวนการคิด  สิ่งไหนที่เด็กไม่รู้ เด็กก็จะใช้คำถาม แล้วครูก็จะตอบเพื่อให้เด็กได้คิดต่อ แต่ถ้าคำถามไหนครูตอบไม่ได้   เด็กและครูก็จะไปหาความรู้ เรียนรู้ร่วมกัน ครูก็ต้องแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากห้องสมุด แหล่งความรู้เพื่อมาตอบคำถามของเด็ก


-Teaching methods (วิธีการสอน)-
       -สอนวิธีการทำเสนอหน้าห้องเรียน
       -สอนแบบอธิบายเพิ่มเติมจากเรื่องที่ได้ฟัง
       -สอนวิธีการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้คิด
       -สอนแบบให้เด็กลงมือกระทำด้วยตัวเอง
       -สอนแบบให้ปรับใช้แผนการสอนในวิจัยที่นำเสนอ
       -สอนแบบใช้คำถามปลายเปิด
                                                           

-Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)-
         -สามารถนำวิจัยที่นำเสนอนั้นมาปรับใช้กับการสอนและการจัดกิจกรรมใหม่ได้
         -สามารถนำโทรทัศน์ครูมาปรับประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
         -สามารถตั้งคำถามให้เด็กได้คิด ได้ค้นหาคำตอบมากยิ่งขึ้น
         -สามารถนำคำแนะนำเกี่ยวกับการนำเสนอหน้าชั้นเรียนไปปรับใช้ได้
         -สามารถนำกิจกรรมในวิจัยและโทรทัศน์ครูไปจัดกับเด็กได้ๆ
        

-Evaluation  (การประเมินผล)-
ตนเอง – ตั้งใจเรียน จดบันทึกตลอดการนำเสนอของเพื่อน พูดคุย สนทนา ตอบคำถามของอาจารย์ตลอดเท่าที่ตอบได้  พอออกไปนำเสนอของตัวเองก็สามารถทำได้ดี แต่ตอนแนะนำตัวผิดพราดเล็กน้อย เรานำเสนองานของเรา เราก็สามารถตอนคำถามที่อาจารย์ถามได้ อธิบายเพิ่มเติมได้ ทำให้การนำเสนอของเราออกมาดีในวันนี้ แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเลา
เพื่อน – เพื่อนๆตั้งใจนำเสนอ งานที่ตัวเองได้รับมอบหมาย มีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตอบคำถามอาจารย์ตลลอดเวลา ทำให้บรรยากาศในชั้นเรียนนั้นไม่เงียบเกินไป มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย
                อาจารย์  - อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม มีคำแนะนำเพิ่มเติมตลอดการนำเสนอ ทำให้พวกเราได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นอีก












วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัย

ผลการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain–based Learning)  ของ สารภี ชมพูคำ
 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ความเป็นมา
จากสภาพการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาเวียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 2ในปีการศึกษา 2550 – 2551 พบว่าเด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการของสมองผ่านกิจกรรมที่มีการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้และสื่อความหมายข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่สามารถแจกแจงรายละเอียดของการรับรู้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีปัญหาด้านทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เนื่องจากการใช้ประสบการณ์ในการเรียนรู้ไม่สอดคล้องสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ทำให้เด็กปฐมวัยขาดทักษะการสังเกต ทักษะการวัดและทักษะการจำแนกซึ่งเป็นทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานในการพัฒนาทางสมองมีรายละเอียดการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาหลักการ เหตุผลและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วดำเนินการสร้างนวัตกรรมใช้แก้ปัญหาดังกล่าวคือ การพัฒนากิจกรรมทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning)

ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียน
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning)
ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตาม
แนวคิดพัฒนาการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์
3. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดประสบการณ์
ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้
ของสมอง (Brain – based Learning)

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1. ประชากร
ประชากรได้แก่นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาเวียง ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2552 จำนวน 17 คน เป็นการศึกษาทั้งกลุ่มประชากร เนื่องจากชั้นอนุบาลปีที่ 2มีนักเรียนห้องเดียว
2. กระบวนการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning) ได้แก่ การจัดประสบการณ์เน้นพัฒนาการด้านทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับการทำงานของสมองประกอบด้วยเนื้อหาที่ใช้ในการเรียนรู้ ดังนี้
2.1 ปลูกต้นไม้ลดโลกร้อน
2.2 ไฟฟ้า
2.3 เสียงรอบตัวเรา
2.4 ดินจ๋าดิน
2.5 . ไข่มาแล้วจ้า

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มี 3 ชนิด ดังนี้
1.1 แผนการจัดประสบการณ์พัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain–based Learning) จำนวน25 แผน
1.2 แบบประเมินพฤติกรรม ใช้ประเมินหลังการใช้แผนการจัดประสบการณ์
1.3 แบบทดสอบวัดทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning) ก่อนเรียนและหลังเรียนจำนวน 15 ข้อ เป็นแบบทดสอบภาคปฏิบัติโดยใช้ของจริง

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน หมายถึง ความชำนาญที่เกิดจากการปฏิบัติและการฝึกฝนกระบวนการทางความคิดอย่างมีระบบในการค้นหาความรู้และแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน การศึกษาครั้งนี้จำแนกเป็น 3 ด้าน ดังนี้
1.1 ทักษะการสังเกต หมายถึง ความสามารถในการบอกความแตกต่าง บอกลำดับวัตถุจัดสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่โดยใช้เกณฑ์ในการจัดแบ่ง เช่น ความเหมือน ความต่างหรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จากการใช้ หู ตา จมูก ลิ้นและผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์
1.2 ทักษะการวัด หมายถึง การใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ เป็นหน่วยวัดที่มีหรือไม่มีมาตรฐานซึ่งอาจไม่มีหน่วยกำกับก็ได้ เช่น นิ้ว คืบ ศอก เป็นต้นรวมถึงการกะประมาณความหนักเบาของวัตถุ
1.3 ทักษะการจำแนก หมายถึง ความสามารถในการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่มีอยู่โดยใช้เกณฑ์ในการจัดแบ่งเป็น สี ขนาด รูปร่าง ลักษณะผิว ส่วนสิ่งมีชีวิตใช้เกณฑ์อาหาร ลักษณะที่อยู่อาศัย การสืบพันธุ์ ประโยชน์
2. แนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง หมายถึง สมองมีการรับรู้หลากหลายรูปแบบหลายวิธีการจากประสบการณ์ที่เหมาะสมในระหว่างเวลาที่ดีเยี่ยม

ตัวอย่างแผนการสอน





สรุปผลการทดลอง
การเรียนโดยใช้ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานทักษะการสังเกต ทักษะการวัดและทักษะการจำแนก
ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง ส่งผลให้นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 เรียนรู้ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถใช้เป็นแนวทางในการ
พัฒนาการเรียนของนักเรียนให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรต่อไป





วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Post-Teaching Report 14

Post-Teaching Report  14
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss  Jintana  Suksamran
November  20, 2014
Group 101 (Thursday) Time 08.30 – 12.30 PM.


-Content (เนื้อหา)-
-ส่งสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์
-เพื่อนๆนำเสนอวิจัยที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งหมด4คน
-ประกอบอาหาร

สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์


-แสง (Light)
-เสียง (Sound)
-ลม (Wind)
-น้ำ (Water)
-พลังงาน (Energy)
-ตามมุม  (The Corner)


วิจัย


ชนากานต์ มีดวง

สุธิดา  คุณโตนด

วิจัยที่3   ผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย 
ธิดารัตน์  สุทธิผล

ธนภรณ์  คงมนัส



การทำขนมวาฟเฟิล (Waffle)




 ส่วนผสม (Ingredient)





                 -แป้ง (Flour)
                 -ไข่ไก่ (Egg)
                 -เนย (Butter)
                 -น้ำ (Water)







อุปกรณ์ (Equipment)



                  -ถ้วย (Cup)
                  -ที่ตีไข่ (Whisk)
                  -ช้อน (Spoon)
                  -เตา (Plate)
                  -จาน (Stove)

วิธีการทำ (How To)



1.ครูเตรียมอุปกรณ์และแบ่งอุปกรณ์เป็นชุดๆให้แต่ละกลุ่ม
2.นำไข่ไก่  น้ำ และแป้ง ผสมใส่ถ้วยแล้วตีส่วนผสมให้เข้ากัน
3.พอตีส่วนผสมเข้ากันเสร็จแล้วก็ตักแบ่งใส่ถ้วยเล็ก
4.หลอดแป้งลงบนเตาวาฟเฟิลที่ทาเนยและร้อนดีแล้วจนเต็ม
5.อบประมาณ3-4นาที แล้วรับประทานได้



-Teaching methods (วิธีการสอน)-
       -สอนแบบให้เด็กลงมือกระทำด้วยตัวเอง
       -สอนวิธีการทำเสนอหน้าห้องเรียน
       -สอนแบบอธิบายเพิ่มเติมจากเรื่องที่ได้ฟัง
       -สอนการจัดทำกลุ่มต่างๆ แบ่งเป็นกลุ่มๆเวลาทำกิจกรรม
       -สอนแบบใช้คำถามปลายเปิด
                                                           

-Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)-
         -สามารถนำวิจัยที่นำเสนอนั้นมาปรับใช้กับงานวิจัยของเราหรือกับการจัดกิจกรรมได้
         -สามารถมีสื่อทำสื่อได้หลากหลายรูปแบบจากที่เพื่อนนำมาส่ง
         -สามารถนำเครื่องมือต่างๆในงานวิจัยไปสอนเด็กๆได้
         -สามารถนำกิจกรรมการทำอาหารไปสอนเด็กๆได้ โดยแบ่งอุปกรณ์เป็นกลุ่มๆ
        

-Evaluation  (การประเมินผล)-
ตนเอง – ตั้งใจเรียน มีการพูดคุย สนทนากับอาจารย์อยู่ตลอดเวลา มีส่วนร่วมในห้องเรียน เวลาทำกิจกรรมก็ทำอย่างเต็มที่ ช่วยเพื่อนเก็บของเมื่อทำกิจกรรมเสร็จ มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย
เพื่อน – เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรมกันอย่างเต็มที่ นำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นอย่างดี มีการโต้ตอบสนทนากับอาจารย์ตลอดเวลา มาเรียนตรงเวลา
อาจารย์  - อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม มีกิจกรรมมากมายมาให้ทำระหว่างเรียน ทำให้เด็กสนุกกับการเรียน มีการอธิบายเพิ่มเติม มีการซักถามในประเด็นต่างๆเพื่อให้พวกเราได้คิดอยู่ตลอดเวลา