วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัย

ผลการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain–based Learning)  ของ สารภี ชมพูคำ
 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ความเป็นมา
จากสภาพการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาเวียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 2ในปีการศึกษา 2550 – 2551 พบว่าเด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการของสมองผ่านกิจกรรมที่มีการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้และสื่อความหมายข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่สามารถแจกแจงรายละเอียดของการรับรู้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีปัญหาด้านทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เนื่องจากการใช้ประสบการณ์ในการเรียนรู้ไม่สอดคล้องสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ทำให้เด็กปฐมวัยขาดทักษะการสังเกต ทักษะการวัดและทักษะการจำแนกซึ่งเป็นทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานในการพัฒนาทางสมองมีรายละเอียดการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาหลักการ เหตุผลและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วดำเนินการสร้างนวัตกรรมใช้แก้ปัญหาดังกล่าวคือ การพัฒนากิจกรรมทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning)

ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียน
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning)
ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตาม
แนวคิดพัฒนาการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์
3. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดประสบการณ์
ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้
ของสมอง (Brain – based Learning)

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1. ประชากร
ประชากรได้แก่นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาเวียง ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2552 จำนวน 17 คน เป็นการศึกษาทั้งกลุ่มประชากร เนื่องจากชั้นอนุบาลปีที่ 2มีนักเรียนห้องเดียว
2. กระบวนการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning) ได้แก่ การจัดประสบการณ์เน้นพัฒนาการด้านทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับการทำงานของสมองประกอบด้วยเนื้อหาที่ใช้ในการเรียนรู้ ดังนี้
2.1 ปลูกต้นไม้ลดโลกร้อน
2.2 ไฟฟ้า
2.3 เสียงรอบตัวเรา
2.4 ดินจ๋าดิน
2.5 . ไข่มาแล้วจ้า

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มี 3 ชนิด ดังนี้
1.1 แผนการจัดประสบการณ์พัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain–based Learning) จำนวน25 แผน
1.2 แบบประเมินพฤติกรรม ใช้ประเมินหลังการใช้แผนการจัดประสบการณ์
1.3 แบบทดสอบวัดทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning) ก่อนเรียนและหลังเรียนจำนวน 15 ข้อ เป็นแบบทดสอบภาคปฏิบัติโดยใช้ของจริง

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน หมายถึง ความชำนาญที่เกิดจากการปฏิบัติและการฝึกฝนกระบวนการทางความคิดอย่างมีระบบในการค้นหาความรู้และแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน การศึกษาครั้งนี้จำแนกเป็น 3 ด้าน ดังนี้
1.1 ทักษะการสังเกต หมายถึง ความสามารถในการบอกความแตกต่าง บอกลำดับวัตถุจัดสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่โดยใช้เกณฑ์ในการจัดแบ่ง เช่น ความเหมือน ความต่างหรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จากการใช้ หู ตา จมูก ลิ้นและผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์
1.2 ทักษะการวัด หมายถึง การใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ เป็นหน่วยวัดที่มีหรือไม่มีมาตรฐานซึ่งอาจไม่มีหน่วยกำกับก็ได้ เช่น นิ้ว คืบ ศอก เป็นต้นรวมถึงการกะประมาณความหนักเบาของวัตถุ
1.3 ทักษะการจำแนก หมายถึง ความสามารถในการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่มีอยู่โดยใช้เกณฑ์ในการจัดแบ่งเป็น สี ขนาด รูปร่าง ลักษณะผิว ส่วนสิ่งมีชีวิตใช้เกณฑ์อาหาร ลักษณะที่อยู่อาศัย การสืบพันธุ์ ประโยชน์
2. แนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง หมายถึง สมองมีการรับรู้หลากหลายรูปแบบหลายวิธีการจากประสบการณ์ที่เหมาะสมในระหว่างเวลาที่ดีเยี่ยม

ตัวอย่างแผนการสอน





สรุปผลการทดลอง
การเรียนโดยใช้ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานทักษะการสังเกต ทักษะการวัดและทักษะการจำแนก
ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง ส่งผลให้นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 เรียนรู้ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถใช้เป็นแนวทางในการ
พัฒนาการเรียนของนักเรียนให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรต่อไป





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น