วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัย

ผลการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain–based Learning)  ของ สารภี ชมพูคำ
 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ความเป็นมา
จากสภาพการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาเวียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 2ในปีการศึกษา 2550 – 2551 พบว่าเด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการของสมองผ่านกิจกรรมที่มีการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้และสื่อความหมายข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่สามารถแจกแจงรายละเอียดของการรับรู้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีปัญหาด้านทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เนื่องจากการใช้ประสบการณ์ในการเรียนรู้ไม่สอดคล้องสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ทำให้เด็กปฐมวัยขาดทักษะการสังเกต ทักษะการวัดและทักษะการจำแนกซึ่งเป็นทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานในการพัฒนาทางสมองมีรายละเอียดการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาหลักการ เหตุผลและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วดำเนินการสร้างนวัตกรรมใช้แก้ปัญหาดังกล่าวคือ การพัฒนากิจกรรมทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning)

ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียน
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning)
ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตาม
แนวคิดพัฒนาการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์
3. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดประสบการณ์
ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้
ของสมอง (Brain – based Learning)

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1. ประชากร
ประชากรได้แก่นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาเวียง ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2552 จำนวน 17 คน เป็นการศึกษาทั้งกลุ่มประชากร เนื่องจากชั้นอนุบาลปีที่ 2มีนักเรียนห้องเดียว
2. กระบวนการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning) ได้แก่ การจัดประสบการณ์เน้นพัฒนาการด้านทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับการทำงานของสมองประกอบด้วยเนื้อหาที่ใช้ในการเรียนรู้ ดังนี้
2.1 ปลูกต้นไม้ลดโลกร้อน
2.2 ไฟฟ้า
2.3 เสียงรอบตัวเรา
2.4 ดินจ๋าดิน
2.5 . ไข่มาแล้วจ้า

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มี 3 ชนิด ดังนี้
1.1 แผนการจัดประสบการณ์พัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain–based Learning) จำนวน25 แผน
1.2 แบบประเมินพฤติกรรม ใช้ประเมินหลังการใช้แผนการจัดประสบการณ์
1.3 แบบทดสอบวัดทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning) ก่อนเรียนและหลังเรียนจำนวน 15 ข้อ เป็นแบบทดสอบภาคปฏิบัติโดยใช้ของจริง

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน หมายถึง ความชำนาญที่เกิดจากการปฏิบัติและการฝึกฝนกระบวนการทางความคิดอย่างมีระบบในการค้นหาความรู้และแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน การศึกษาครั้งนี้จำแนกเป็น 3 ด้าน ดังนี้
1.1 ทักษะการสังเกต หมายถึง ความสามารถในการบอกความแตกต่าง บอกลำดับวัตถุจัดสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่โดยใช้เกณฑ์ในการจัดแบ่ง เช่น ความเหมือน ความต่างหรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จากการใช้ หู ตา จมูก ลิ้นและผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์
1.2 ทักษะการวัด หมายถึง การใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ เป็นหน่วยวัดที่มีหรือไม่มีมาตรฐานซึ่งอาจไม่มีหน่วยกำกับก็ได้ เช่น นิ้ว คืบ ศอก เป็นต้นรวมถึงการกะประมาณความหนักเบาของวัตถุ
1.3 ทักษะการจำแนก หมายถึง ความสามารถในการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่มีอยู่โดยใช้เกณฑ์ในการจัดแบ่งเป็น สี ขนาด รูปร่าง ลักษณะผิว ส่วนสิ่งมีชีวิตใช้เกณฑ์อาหาร ลักษณะที่อยู่อาศัย การสืบพันธุ์ ประโยชน์
2. แนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง หมายถึง สมองมีการรับรู้หลากหลายรูปแบบหลายวิธีการจากประสบการณ์ที่เหมาะสมในระหว่างเวลาที่ดีเยี่ยม

ตัวอย่างแผนการสอน





สรุปผลการทดลอง
การเรียนโดยใช้ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานทักษะการสังเกต ทักษะการวัดและทักษะการจำแนก
ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง ส่งผลให้นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 เรียนรู้ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถใช้เป็นแนวทางในการ
พัฒนาการเรียนของนักเรียนให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรต่อไป





วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Post-Teaching Report 14

Post-Teaching Report  14
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss  Jintana  Suksamran
November  20, 2014
Group 101 (Thursday) Time 08.30 – 12.30 PM.


-Content (เนื้อหา)-
-ส่งสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์
-เพื่อนๆนำเสนอวิจัยที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งหมด4คน
-ประกอบอาหาร

สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์


-แสง (Light)
-เสียง (Sound)
-ลม (Wind)
-น้ำ (Water)
-พลังงาน (Energy)
-ตามมุม  (The Corner)


วิจัย


ชนากานต์ มีดวง

สุธิดา  คุณโตนด

วิจัยที่3   ผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย 
ธิดารัตน์  สุทธิผล

ธนภรณ์  คงมนัส



การทำขนมวาฟเฟิล (Waffle)




 ส่วนผสม (Ingredient)





                 -แป้ง (Flour)
                 -ไข่ไก่ (Egg)
                 -เนย (Butter)
                 -น้ำ (Water)







อุปกรณ์ (Equipment)



                  -ถ้วย (Cup)
                  -ที่ตีไข่ (Whisk)
                  -ช้อน (Spoon)
                  -เตา (Plate)
                  -จาน (Stove)

วิธีการทำ (How To)



1.ครูเตรียมอุปกรณ์และแบ่งอุปกรณ์เป็นชุดๆให้แต่ละกลุ่ม
2.นำไข่ไก่  น้ำ และแป้ง ผสมใส่ถ้วยแล้วตีส่วนผสมให้เข้ากัน
3.พอตีส่วนผสมเข้ากันเสร็จแล้วก็ตักแบ่งใส่ถ้วยเล็ก
4.หลอดแป้งลงบนเตาวาฟเฟิลที่ทาเนยและร้อนดีแล้วจนเต็ม
5.อบประมาณ3-4นาที แล้วรับประทานได้



-Teaching methods (วิธีการสอน)-
       -สอนแบบให้เด็กลงมือกระทำด้วยตัวเอง
       -สอนวิธีการทำเสนอหน้าห้องเรียน
       -สอนแบบอธิบายเพิ่มเติมจากเรื่องที่ได้ฟัง
       -สอนการจัดทำกลุ่มต่างๆ แบ่งเป็นกลุ่มๆเวลาทำกิจกรรม
       -สอนแบบใช้คำถามปลายเปิด
                                                           

-Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)-
         -สามารถนำวิจัยที่นำเสนอนั้นมาปรับใช้กับงานวิจัยของเราหรือกับการจัดกิจกรรมได้
         -สามารถมีสื่อทำสื่อได้หลากหลายรูปแบบจากที่เพื่อนนำมาส่ง
         -สามารถนำเครื่องมือต่างๆในงานวิจัยไปสอนเด็กๆได้
         -สามารถนำกิจกรรมการทำอาหารไปสอนเด็กๆได้ โดยแบ่งอุปกรณ์เป็นกลุ่มๆ
        

-Evaluation  (การประเมินผล)-
ตนเอง – ตั้งใจเรียน มีการพูดคุย สนทนากับอาจารย์อยู่ตลอดเวลา มีส่วนร่วมในห้องเรียน เวลาทำกิจกรรมก็ทำอย่างเต็มที่ ช่วยเพื่อนเก็บของเมื่อทำกิจกรรมเสร็จ มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย
เพื่อน – เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรมกันอย่างเต็มที่ นำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นอย่างดี มีการโต้ตอบสนทนากับอาจารย์ตลอดเวลา มาเรียนตรงเวลา
อาจารย์  - อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม มีกิจกรรมมากมายมาให้ทำระหว่างเรียน ทำให้เด็กสนุกกับการเรียน มีการอธิบายเพิ่มเติม มีการซักถามในประเด็นต่างๆเพื่อให้พวกเราได้คิดอยู่ตลอดเวลา  











วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ


การประกอบอาหาร

การประกอบอาหาร เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย  โดยทั่วไปแล้ว เด็กเล็กๆในวัยนี้มักจะไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองให้ช่วยทำอาหารเพราะเกรงในเรื่องความปลอดภัย   หากมองอีกแง่มุมหนึ่ง การประกอบอาหารเป็นกิจกรรม และ จัดว่าเป็นสื่อการสอนอย่างดีที่จะช่วยพัฒนาทักษะ ความรู้ และ ความเข้าใจในแนวคิดทั้งทางวิทยาศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ หากครู และ ผู้ปกครองให้ความช่วยเหลือเด็ก อยู่ใกล้ๆ และ คอยระมัดระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็กในขณะทำอาหาร เด็กก็จะได้รับประโยชน์จากกิจกรรมประกอบอาหารอย่างมาก เพราะเป็นกิจกรรมที่เด็กได้รับประสบการณ์ตรงตั้งแต่ขั้นเตรียมอุปกรณ์ และ ส่วนผสม  ส่วนประกอบที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารก็ล้วนแต่เป็นของจริง ทำให้เด็กเกิดความสนใจ และ ช่วยทำให้เด็กจดจำง่าย  ในขณะทำอาหาร เด็กต้องใช้การสังเกตปริมาณส่วนผสม ส่วนประกอบของอาหารที่จะทำ รวมถึงการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่นำมาทำเป็นอาหาร การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ การเปรียบเทียบรสชาติ ในขณะทำอาหาร เด็กได้พัฒนาแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับ ขนาด รูปร่าง ตัวเลข จำนวน สี การชั่ง ตวง การดมกลิ่น การรู้รส ซึ่งจะทำให้เด็กรับรู้ความเหมือน ความต่าง และ ความหมายของสิ่งที่เด็กได้รับรู้นั้น นอกจากนี้ เด็กก็ยังได้เรียนรู้ทักษะการจำแนก เช่น จำแนกส่วนประกอบอาหารที่นำมา เช่น ส้มเขียวหวาน ส้มโอ มะนาว ว่ามีรูปทรงกลมเหมือนกัน ขนาดต่างกัน รสชาติเปรี้ยวเหมือนกัน หรือ เด็กๆอาจจะแบ่งประเภทของอาหารตามเกณฑ์อื่นๆ เช่น สี จำนวน รูปร่าง และ ประเภท ในการจัดกิจกรรมประกอบอาหารนี้ครูอาจจะสร้างสถานการณ์เพื่อกระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้ด้วย เช่น ให้เด็กๆช่วยกันคิดว่า ถ้าเราจะลองทำไข่ยัดไส้ เด็กๆอยากจะใส่ส่วนผสมอะไรได้บ้าง

คำถามที่ครูใช้ควรเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้คิด ตอบ แสดงความคิดเห็น ซึ่งจะเป็นขั้นตอนการสื่อสารที่เด็กได้พัฒนาทางด้านภาษาอีกด้วย เด็กจะได้เรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนในชั้นเรียน เช่น เมื่อครูจะจัดกิจกรรมให้เด็กทำ ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน เด็กบางคนไม่เคยรับประทานก็อาจจะไม่ทราบว่าเป็นอาหารที่มีลักษณะอย่างไร แต่เพื่อนที่เคยมีประสบการณ์ เคยเห็นคุณแม่ทำให้รับประทานก็บอกได้ว่า ก๋วยเตี๋ยวลุยสวนมีลักษณะอย่างไร นอกจากนี้ ครูอาจจะตั้งคำถามให้เด็กๆช่วยกันอภิปรายว่า ถ้าน้ำเชื่อมที่เด็กๆช่วยกันทำมีรสหวานมากเกินไป เด็กๆจะทำอย่างไรให้น้ำเชื่อมมีรสชาติหวานน้อยลง

                ในขั้นตอนการทำอาหาร ครูอาจจะส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ทักษะการทำนาย โดยให้เด็กๆได้ช่วยกันคาดคะเนวางแผนก่อนลงมือทำอาหาร โดยตั้งคำถามว่า ถ้าหากใส่น้ำตาลลงไปในขณะที่น้ำยังร้อนอยู่ เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น” “ถ้าผสมผงแป้ง กับ น้ำ เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้นครูให้เด็กๆลองลงมือทำอาหารด้วยตนเอง แล้วค้นหาคำตอบด้วยตนเองโดยการใช้ประสาทสัมผัส  จะเห็นว่า ในการสอนทำอาหารเพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์นั้น ครูจะเป็นผู้ที่มีบทบาทเป็นเพียงผู้ช่วยให้คำแนะนำ ผู้วางแผนกิจกรรมขั้นต้น ช่วยเตรียมอุปกรณ์ในการทำอาหาร จัดห้องเรียนให้เหมาะสมในการสอนทำอาหาร กระตุ้นการเรียนรู้โดยให้เด็กๆใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์


             นอกจากกิจกรรมการประกอบอาหารจะส่งเสริมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ และ สนุกกับการเป็นผู้ลงมือทำอาหารด้วยตนเองแล้ว กิจกรรมประกอบอาหารยังส่งเสริมให้เด็กๆได้พัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย...click










วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปความรู้จากการดูคลิป การสอนวิทยาศาสตร์ในระดับเด็กปฐมวัย

สรุปความรู้จากการดูคลิป การสอนวิทยาศาสตร์ในระดับเด็กปฐมวัย


สัปดาห์วิทยาศาสตร์ในระดับชั้นปฐมวัย ของ โรงเรียนลัมแบรต์พิชญาลัย จ.จันทบุรี

เรียนรู้เรื่องไฟ



ฐานที่1 พลังงานความร้อน
ครูจะบอกเด็กๆก่อนว่าพลังงานความร้อนนั้นมีทั้งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แล้วก็ที่มนุษย์สร้างขึ้น ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ให้แสงสว่างแกเรานั้น คือแสงจากอะไร เด็กตอบว่า จากดวงอาทิตย์  ครูบอกต่อว่าพลังงานที่มนุษย์สร้างขึ้นก็คือพลังงานไฟฟ้า เช่น พัดลม หลอดไฟ
จากนั้นครูก็จะให้เด็กดูว่า ถ้าเกิดคลื่นความร้อนขึ้นมา มันจะเกิดอะไรขึ้น ครูจุดตะเกียง ถามเด็กว่า ตอนที่ครูจุดตะเกียงมันเกิดอะไรขึ้น เด็กก็ตอนว่าความร้อน ครูก็หยิบกังหันขึ้นมา แล้วถามว่ากังหันมันจะเป็นยังไงถ้าเราเอาไปใกล้ไฟ เด็กตอบว่ามันร้อน ครูก็จะถามต่อว่ามันหมุนไหม เด็กๆก็ไม่มีคนตอบ จากนั้นครูก็ทดลองให้เด็กๆดู นำกังหันไปใกล้ไฟ ที่ด้านบนเปลวไฟ กังหันก็หมุน ครูก็นำกระดาษที่ตัดเป็นเส้นยาว เป็นวงกลมไปจ่อไว้ใกล้ๆไฟ กระดาษนั้นก็หมุนเป็นวงกลม ครูก็ถามว่ามันหมุนได้ยังไง เราก็ไม่ได้เปิดพัดลม จากนั้นครูก็ให้เด็กทุกคนได้ลองทำการทดลองนี้ดู โดยคุณครูดูแลอย่างใกล้ชิด พอเด็กได้ลองทำกันหมดทุกคนแล้ว ก็มาสรุปความรู้ร่วมกัน เพราะว่าอากาศที่เป็นความร้อน เครื่องที่ขึ้นสู่ด้านบน ทำให้วัตถุหมุน จากนั้นครูก็ให้เด็กทำใบงาน

ฐานที่2 ตัวดูดความร้อน
                ครูมีอุปกรณ์ให้กับเด็ก ๆ  แล้วถามว่ามันคืออะไร เด็กก็จะตอบว่า  ตุ๊กตา  ครูถามต่อว่าตุ๊กตาทำมาจากอะไร  เด็ก ๆ  ก็จะตอบว่าทำมาจากผ้า  อุปกรณ์ต่อไปเป็นช้อนครูถามว่าทำมาจากอะไรเด็กตอบว่าทำมาจากพลาสติก  ต่อไปก็เป็นช้อนเหมือนกันแต่เป็นช้อนทำมาจากสแตนเลส  ครูจะให้เด็กๆ พูดตามว่า  สแตนเลส  ครูถามว่าช้อนสองชิ้นนี้เหมือนกันไหม  เด็กก็ตอบว่าไม่เหมือน  มีไม้  มีผ้า  ตามลำดับ  ครูก็ชี้ไปที่ตะเกียง  แล้วให้เด็กพูดว่า  ตะเกียง  แล้วคุณครูก็จุดไฟ  ครูจะถามเด็กก่อนว่าไฟอันตรายไหม  ถ้าคุณครูจุดไฟเด็ก ๆ  อย่าเข้ามาใกล้  จากนั้นครูก็ถามว่าจะทดลองอันไหนก่อน  เด็กบอกช้อนสแตนเลสกับผ้า  ครูก็นำช้อนสแตนเลสไปอังไว้ที่ไฟ  จากนั้นคุณครูก็ให้เด็กสัมผัสของทั้ง2สิ่ง ว่าสิ่งไหนร้อนกว่ากัน  โดยบอกเด็กๆ  ว่าอย่าพึ่งตอบให้เก็บไว้ในใจก่อน  พอเด็ก ๆ  ได้สัมผัสเสร็จทุกคน  คุณครูก็ถามว่าอันไหนร้อนกว่ากัน  เด็ก ๆ  ก็บอกว่าช้อน  เพราะว่ามันเป็นช้อนสแตนเลสเก็บความร้อนและดูดได้ดีกว่าผ้า  จากนั้นก็เป็นอุปกรณ์ชิ้นต่อไปหมีกับไม้  เด็กก็บอกว่าไม่ร้อน  เพราะว่าไม้กับหมีที่ทำมาจากผ้านั้นไม่ดูดความร้อน  จากนั้นก็ให้เด็กสรุปความรู้โดยคุณครูชูอุปกรณ์แต่ละชิ้นขึ้นมา  เด็กๆ  ก็จะตอบตามสิ่งของที่คุณครูยกขึ้นมา  มีช้อนอันเดียวที่ดูดความร้อนได้  จากนั้นครูก็ให้เด็กทำใบงาน

ฐานที่3  ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งแสงสว่าง
                คุณครูจะนำกระป๋องเจาะรู  2 ที่  ด้านบน  1  รู  ด้านข้าง  2  รู  แล้วก็มีไฟฉายพอคุณครูเอาไฟฉายส่องที่ด้านข้างกระป๋อง  ครูให้เด็กเอาตาส่องจากด้านบนแล้วก็สังเกตว่าข้างในมีอะไรพอเด็กเห็นแล้วก็เอามีปิดรูด้านข้างไว้แล้วก็ส่องลงไปอีก  แล้วคุณครูก็ถามเด็กๆ  เห็นอะไรไหม  เด็ก ๆ  ลองสังเกตดู  จากนั้นคุณครูก็ให้เด็กๆ  ได้ทดลอง  ได้สังเกตดูในกระป๋องแบบที่มีไฟฉายส่องและไม่มีไฟฉายส่องครูก็ถามว่า ถ้าเอาไฟฉายออกเด็ก ๆ  จะเห็นไหม  เด็ก ๆ ก็จะตอบว่า  ไม่เห็น ถ้าเอาไฟฉายส่องเราเห็นอะไรในกระป๋อง เด็กตอบลูกแก้วแสดงว่าเราต้องได้รับแสงสว่างเราถึงจะมองเห็นวัตถุที่อยู่ในกระป๋อง  แล้วถ้าเราปิดเราก็จะมองไม่เห็นวัตถุที่อยู่ในกระป๋อง  แสดงว่าความมืดไม่ทำให้เรามองเห็นวัตถุได้ 

จากการจัดงานวิทยาศาสตร์นี้  เด็กจะได้ทดลอง  สัมผัส  และสังเกตด้วยตัวเอง  เด็กก็จะได้พูดคุย  ตอบคำถามที่คุณครูถาม และเด็กก็ได้แสดงออกทางความรู้โดยการทำใบงานว่าสิ่งที่ตนเรียนมานั้นรู้มากแค่ไหน








วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Post-Teaching Report 13

Post-Teaching Report  13
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss  Jintana  Suksamran
November  13, 2014
Group 101 (Thursday) Time 08.30 – 12.30 PM.


-Content (เนื้อหา)-
กิจกรรมในวันนี้ เพื่อนๆนำเสนอวิจัยที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งหมด7คนดังนี้


น.ส กมลพรรณ แสนจันทร์ 






น.ส. ชนัฐถ์นันท์ แสวงชัย





-Teaching methods (วิธีการสอน)-
       -สอนแบบลงมือกระทำ ค้นหา แล้วก็นำเสนอ
       -สอนแบบอธิบายเพิ่มเติมจากเรื่องที่ได้ฟัง
       -สอนแบบใช้คำถาม ให้เด็กได้คิดหาคำตอบหลายๆอย่าง
       -สอนให้รู้จักวิธีการพูดนำเสนอหน้าชั้นเรียน
                                                           
-Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)-
         -สามารถนำวิจัยที่นำเสนอนั้นมาปรับใช้กับงานวิจัยของเราหรือกับการจัดกิจกรรมได้
         -สามารถนำเครื่องมือต่างๆในงานวิจัยไปสอนเด็กๆได้
         -การทำงานวิจัยนั้น ทำเพื่อให้รู้ถึงปัญหาและการแก้ปัญหาของเด็ก
         -เราสามารถนำคำศัพท์หรือคำสามัญต่างๆที่มีอยู่ในงานวิจัย ไปค้นหางานวิจัยหรือใช้ในการบอกความหมายได้ง่ายขึ้น

-Evaluation  (การประเมินผล)-
ตนเอง ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนองานวิจัย มีการจดบันทึกในช่วงแรกๆ มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม เสนอความคิดเห็น มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย
เพื่อน – เพื่อนๆตั้งใจนำเสนองานวิจัยของตัวเอง แล้วก็ตั้งใจฟังเพื่อนที่นำเสนอวิจัย ตอบคำภาม ซักถามเมื่อมีข้อสงสัย บรรยากาศในชั้นเรียนสนุกสนาน มาเรียนตรงต่อเวลา

อาจารย์  - อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม เวลาเพื่อนๆนำเสนอวิจัยเสร็จ ก็จะมีการอธิบายเพิ่มเติม แล้วก็มีคำถามให้เพื่อนๆได้คิด ได้หาคำตอน ทั้งยังถามเพื่อนที่นำเสนอวิจัยด้วยว่าเข้าใจมากแค่ไหน อาจารย์จะเน้นกระบวนการเน้นตัวกิจกรรมของงานวิจัย