การประกอบอาหาร
การประกอบอาหาร
เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย
โดยทั่วไปแล้ว เด็กเล็กๆในวัยนี้มักจะไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองให้ช่วยทำอาหารเพราะเกรงในเรื่องความปลอดภัย หากมองอีกแง่มุมหนึ่ง
การประกอบอาหารเป็นกิจกรรม และ จัดว่าเป็นสื่อการสอนอย่างดีที่จะช่วยพัฒนาทักษะ
ความรู้ และ ความเข้าใจในแนวคิดทั้งทางวิทยาศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ หากครู และ
ผู้ปกครองให้ความช่วยเหลือเด็ก อยู่ใกล้ๆ และ
คอยระมัดระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็กในขณะทำอาหาร
เด็กก็จะได้รับประโยชน์จากกิจกรรมประกอบอาหารอย่างมาก เพราะเป็นกิจกรรมที่เด็กได้รับประสบการณ์ตรงตั้งแต่ขั้นเตรียมอุปกรณ์
และ ส่วนผสม ส่วนประกอบที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารก็ล้วนแต่เป็นของจริง
ทำให้เด็กเกิดความสนใจ และ ช่วยทำให้เด็กจดจำง่าย ในขณะทำอาหาร
เด็กต้องใช้การสังเกตปริมาณส่วนผสม ส่วนประกอบของอาหารที่จะทำ
รวมถึงการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่นำมาทำเป็นอาหาร การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
การเปรียบเทียบรสชาติ ในขณะทำอาหาร เด็กได้พัฒนาแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับ ขนาด
รูปร่าง ตัวเลข จำนวน สี การชั่ง ตวง การดมกลิ่น การรู้รส
ซึ่งจะทำให้เด็กรับรู้ความเหมือน ความต่าง และ
ความหมายของสิ่งที่เด็กได้รับรู้นั้น นอกจากนี้ เด็กก็ยังได้เรียนรู้ทักษะการจำแนก
เช่น จำแนกส่วนประกอบอาหารที่นำมา เช่น ส้มเขียวหวาน ส้มโอ มะนาว
ว่ามีรูปทรงกลมเหมือนกัน ขนาดต่างกัน รสชาติเปรี้ยวเหมือนกัน หรือ
เด็กๆอาจจะแบ่งประเภทของอาหารตามเกณฑ์อื่นๆ เช่น สี จำนวน รูปร่าง และ ประเภท
ในการจัดกิจกรรมประกอบอาหารนี้ครูอาจจะสร้างสถานการณ์เพื่อกระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้ด้วย
เช่น ให้เด็กๆช่วยกันคิดว่า ถ้าเราจะลองทำไข่ยัดไส้
เด็กๆอยากจะใส่ส่วนผสมอะไรได้บ้าง
คำถามที่ครูใช้ควรเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้คิด
ตอบ แสดงความคิดเห็น ซึ่งจะเป็นขั้นตอนการสื่อสารที่เด็กได้พัฒนาทางด้านภาษาอีกด้วย
เด็กจะได้เรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนในชั้นเรียน
เช่น เมื่อครูจะจัดกิจกรรมให้เด็กทำ ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน
เด็กบางคนไม่เคยรับประทานก็อาจจะไม่ทราบว่าเป็นอาหารที่มีลักษณะอย่างไร
แต่เพื่อนที่เคยมีประสบการณ์ เคยเห็นคุณแม่ทำให้รับประทานก็บอกได้ว่า
ก๋วยเตี๋ยวลุยสวนมีลักษณะอย่างไร นอกจากนี้
ครูอาจจะตั้งคำถามให้เด็กๆช่วยกันอภิปรายว่า “ถ้าน้ำเชื่อมที่เด็กๆช่วยกันทำมีรสหวานมากเกินไป
เด็กๆจะทำอย่างไรให้น้ำเชื่อมมีรสชาติหวานน้อยลง”
ในขั้นตอนการทำอาหาร ครูอาจจะส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ทักษะการทำนาย โดยให้เด็กๆได้ช่วยกันคาดคะเนวางแผนก่อนลงมือทำอาหาร โดยตั้งคำถามว่า “ถ้าหากใส่น้ำตาลลงไปในขณะที่น้ำยังร้อนอยู่ เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น” “ถ้าผสมผงแป้ง กับ น้ำ เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น” หลังจากนั้นครูให้เด็กๆลองลงมือทำอาหารด้วยตนเอง แล้วค้นหาคำตอบด้วยตนเองโดยการใช้ประสาทสัมผัส จะเห็นว่า ในการสอนทำอาหารเพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์นั้น ครูจะเป็นผู้ที่มีบทบาทเป็นเพียงผู้ช่วยให้คำแนะนำ ผู้วางแผนกิจกรรมขั้นต้น ช่วยเตรียมอุปกรณ์ในการทำอาหาร จัดห้องเรียนให้เหมาะสมในการสอนทำอาหาร กระตุ้นการเรียนรู้โดยให้เด็กๆใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์
นอกจากกิจกรรมการประกอบอาหารจะส่งเสริมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ และ สนุกกับการเป็นผู้ลงมือทำอาหารด้วยตนเองแล้ว กิจกรรมประกอบอาหารยังส่งเสริมให้เด็กๆได้พัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย...click
ในขั้นตอนการทำอาหาร ครูอาจจะส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ทักษะการทำนาย โดยให้เด็กๆได้ช่วยกันคาดคะเนวางแผนก่อนลงมือทำอาหาร โดยตั้งคำถามว่า “ถ้าหากใส่น้ำตาลลงไปในขณะที่น้ำยังร้อนอยู่ เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น” “ถ้าผสมผงแป้ง กับ น้ำ เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น” หลังจากนั้นครูให้เด็กๆลองลงมือทำอาหารด้วยตนเอง แล้วค้นหาคำตอบด้วยตนเองโดยการใช้ประสาทสัมผัส จะเห็นว่า ในการสอนทำอาหารเพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์นั้น ครูจะเป็นผู้ที่มีบทบาทเป็นเพียงผู้ช่วยให้คำแนะนำ ผู้วางแผนกิจกรรมขั้นต้น ช่วยเตรียมอุปกรณ์ในการทำอาหาร จัดห้องเรียนให้เหมาะสมในการสอนทำอาหาร กระตุ้นการเรียนรู้โดยให้เด็กๆใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์
นอกจากกิจกรรมการประกอบอาหารจะส่งเสริมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ และ สนุกกับการเป็นผู้ลงมือทำอาหารด้วยตนเองแล้ว กิจกรรมประกอบอาหารยังส่งเสริมให้เด็กๆได้พัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย...click
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น