วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Post-Teaching Report 9

Post-Teaching Report  9
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss  Jintana  Suksamran
October  16, 2014
Group 101 (Thursday) Time 08.30 – 12.30 PM.

-Content (เนื้อหา)-
กิจกรรมในวันนี้อาจารย์พวกเรานำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์

เครื่องร่อนวงแหวน





อุปกรณ์

Equipment (อุปกรณ์)
-หลอด
-กระดาษ                                           
-เทปใส
-กรรไกร







How To (วิธีทำ)


1.ตัดกระดาษ 2 ชิ้น
-ชิ้นที่1กว้าง 1นิ้ว ยาว 10นิ้ว
-ชิ้นที่2 กว้าง1นิ้ว ยาว 5นิ้ว
2.นำกระดาษทั้งสองชิ้นมาติดกันเป็นวงกลมด้วยเทปใส
3.นำกระดาษที่เป็นวงกลมมาติดไว้ทั้งสองข้างของปลายหลอด วงกลมทั้งสองวงต้องอยู่แนวระนาบเดียวกัน เท่าๆกัน
4.แล้วนำไปร่อนเล่นตามอัธยาศัย


ของเล่นวิทยาศาสตร์ เครื่องร่อนวงแหวน นี้เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะ
-เป็นของเล่นที่เด็กทำได้ง่ายเด็กสามารถลงมือกระทำได้ด้วยตนเอง
-วัสดุอุปกรณ์ก็เป็นสิ่งของที่เรามีกันอยู่แล้ว หาง่าย
-ทำให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ เด็กสามารถต่อเติมหลอดเข้าไป เพิ่มกระดาษ หรือตกแต่งให้สวยงามตามที่เด็กต้องการ
-เด็กจะมีกล้ามเนื้อเล็กและใหญ่ที่แข็งแรงมากขึ้นจากการที่เด็กได้ลงมือกระทำ


ทำไม? เครื่องร่อนวงแหวน ถึงร่อนได้
-เพราะว่า เมื่อออกแรงพุ่งเครื่องร่อน รูปร่างของวงแหวนของกระดาษทำให้เกิดแรงยก เนื่องจากการไหลผ่านของอากาศผ่านคิวโค้ง ส่วนน้ำหนักของเครื่องร่อนเป็นแรงดึงลงตามแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งแรงดึงจะอยู่ในทิศทางตรงข้ามกับแรงยก ส่วยวงแหวนขนาดใหญ่ด้านหลังเป็นตัวสร้างแรงดึงหรือแรงต้านอากาศ ซึ่งช่วยลดความเร็วของแรงที่พุ่งไปข้างหน้า เพราะมีทิศทางที่ตรงกันข้าม เมิ่อเกิดสมดุลของแรงทั้ง4นี้ เครื่องร่อนจึงสามารถลอยไปข้างหน้าอยู่ในอากาศได้นาน

สื่อของเพื่อนๆ






สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ชอบของเพื่อน
แก้วกระโดด เพราะว่าเป้นของเล่นที่ทำได้ง่าย วัสดุสามารถหาได้ แล้วก็เด็กจำได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ในเรื่องของ แรง ความดัน แต่ว่าเด็กบางคนก็ไม่สามารถทำได้ เพราะเด็กบางคนอาจจะยังไม่มีแรงเป่าไม่เพียงพอ เด็กก็จะได้เรียนรู้ถึงแรงตรงนี้ด้วย อาจจัดเป็นเกมการแข่งขันได้





-Teaching methods (วิธีการสอน)-
       -สอนแบบให้เด็กลงมือกระทำด้วยตัวเอง
       - สอนแบบอธิบายเพิ่มเติม
       -สอนแบบใช้คำถาม
       -สอนให้เด็กรู้จักการแก้ปัญหา
                                                           
-Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)-
          -ได้ลงมือประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์เอง
         -สามารถนำสิ่งของที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์
         -ได้เรียนรู้เรื่องการพูด การแนะนำตัวเอง
         -ได้รู้รับความรู้เรื่องต่างๆจากการอธิบายของเล่นของเพื่อน
       

-Evaluation  (การประเมินผล)-
ตนเอง –มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ แล้วก็นำเสนอผลงานตัวเองออกมาได้ดี
เพื่อน –เพื่อนๆในนำเสนอผลงานของตัวเอง ปรับปรุง แก้ไขในส่วนที่อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติม
อาจารย์  -มาสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม อธิบายเพิ่มในส่วนต่างๆที่มันไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจน มีการใช้คำถามให้เด็กคิดตลลอดเวลา











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น